K-Me Article


ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี (Electrochemistry)
            ลักษณะสำคัญของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมีคือการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่างอนุภาคที่ทำปฏิกิริกัน (ปฏิกิริยาระหว่างกรด-เบส  เป็นการถ่ายเทโปรตอนหรือ H+ กัน )  การถ่ายเทอิเล้กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้า  แต่อย่าลืมว่าอิเล็กตรอนกับกระแสไฟฟ้านั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่สัมพันธ์กัน  โดยอิเล็กตรอนกับกระแสไฟฟ้าจะไหลสวนทางกัน  ตามที่กล่าวในตอนแรกว่ามีการถ่ายเทอิเล้กตรอนกันก็หมายความว่า  อนุภาคหนึ่งเป็นฝ่ายให้อิเล็กตรอนหรือจะเรียกว่าเสียอิเล็กตรอนก็ได้  การเสียอิเล็กตรอนเป็นส่วนหน่ึงของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี  เรียกปฏิกิริยาในการเสียอิเล็กตรอนว่าปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation reaction) แต่เรียกอนุภาคที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันว่าดัวรีดิวซ์ (reducer , reducing agent) หรือจะเรียกว่าตัวถูกออกซิไดซ์ (oxidised) ก็ได้  ในเวลาเดียวกันอีกอนุภาคหนึ่งก็จะเป็นฝ่ายได้รับอิเล็กตรอน   การรับอิเล็กตรอนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี  เรียกว่าปฏิกิริยารีดักชัน (reduction reaction)  แต่เรียกอนุภาคที่เกิดปฏิกิริยารีดักชันว่าตัวออกซิไดซ์ (oxidiser , oxixising agent)  หรือจะเรียกว่าตัวถูกรีดิวซ์ (reduced) ก็ได้  ปฏิกิริยาทั้ง  2  ส่วนที่ว่ามานี้จะเกิดขึ้นพร้อมกัน  จึงเรียกชื่อรวมกันว่า  รีดักชัน-ออกซิเดชัน  (Reduction-reduction reaction)  เรียกย่อ ๆ ว่าปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox reaction)   เช่น  Zn  +  Cu2+  →  Zn2+  +  Cu แบ่งออกเป็น  2  ส่วน ดังนี้
        1.  ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) คือส่วนที่อนุภาคเกิดการเสียอิเล็กตรอน  ;  Zn  →  Zn2+  +  2e-
                 
Zn  เป็นตัวรีดิวซ์  หรือเป็นตัวถูกออกซิไดซ์
        2.  ปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction reaction)  คือส่วนที่อนุภาคได้รับอิเล็กตรอน  ; Cu2+  +  2e- →  Cu
             Cu2+ เป็นตัวออกซิไดซ์  หรือเป็นตัวถูกรีดิวซ์


                                                             
                                                              

ปฏิกิริยารีดอกซ์กับเลขออกซิเดชัน

            ปฏิกิริยารีดอกซ์มีการถ่ายเทอิเล็กตรอนระหว่างตัวรีดิวซ์กับตัวออกซิไดซ์  ผลจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน  ตัวรีดิวซ์จะมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นขณะเดียวกันตัวออกซิไดซ์จะมีเลขออกวิเดชันลดลง

            1.     ปฏิกิริยาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของธาตุใด ๆ  ไม่ใช่ปฏิกิริยารีดอกซ์

            2.  ปฏิกิริยาที่บางธาตุมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น  แต่ไม่มีธาตุใดที่มีเลขออกซิเดชันลดลงรวมอยู่ด้วย  เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชัน

            3. ปฏิกิริยาที่มีบางธาตุมีเลขออกซิเดชันลดลง  แต่ไม่มีธาตุใดที่มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นรวมอยู่ด้วย  เป็นปฏิกิริยารีดัชั่น

            4.  ปฏิกิริยาที่มีทั้งมีธาตุซึ่งเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่ในสมการเดียวกันเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์   
                                         
                                      (ใครหาเลขออกซิเดชันไม่เป็น  คลิ้กที่นี่)


                                      (คลิ้กเพื่อศึกษาเพิ่มเติม) 




แบบฝึกหัด  จงพิจารณาว่าปฏิกิริยาต่อไปนี้เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่

1.  NaOH(aq) + HCl(aq)  →  NaCl(aq) + H2O(aq) 

2.   Ba2+(aq) + SO42-(aq) →  BaSO4(s)              

3.  Zn(s) + 2HCl(aq) → ZnCl2(aq) + H2(g)                  

4.  5Zn(s) + 2KMnO4(aq) + 8H2SO4(aq)  →  5ZnSO4(aq) + 2MnSO4(aq)  + K2SO4(aq)  + 8H2O  

 5.  2H2 + O2 → 2H2O

 6.  2Ag+ + Cu → Cu2+ + 2Ag     



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

Size : 424.91 KBs
Upload : 2012-10-27 20:53:29
ติชม

กำลังแสดงหน้า 1/0
<<
1
>>

ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

0
คะแนนโหวด
สร้างโดย :


K-Me
รายละเอียด Share
สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.031518 sec.