ลีลาการเรียนรู้ (ครูและนักเรียน)
การที่ผู้เรียน จะเรียนรู้ได้ดี และเป็นไปอย่างเต็มศักยภาพของตน นั้นมีองค์ประกอบและตัวแปรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ภูมิหลังของผู้เรียน สาระที่เรียน วิธีที่เรียน เป็นต้น ในองค์ประกอบด้านผู้สอน ตัวแปรที่สำคัญคือ ตัวผู้สอน การจัดสภาพแวดล้อม การจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ วิธีสอน วัสดุและสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น องค์ประกอบและตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ลีลาการเรียนรู้ หรือวิธีการเรียนรู้ หรือ แบบการเรียนรู้ (Learning style) เป็นลักษณะ หรือวิธีการเรียนรู้ หรือวิธีคิด หรือวิธีการแก้ปัญหา ที่บุคคลชอบหรือมีความถนัดใช้เป็นประจำ หรือใช้เป็นส่วนใหญ่ในการเรียนรู้เรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน และเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด หากผู้สอนประสงค์จะจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม ผู้สอนจำเป็นต้องรู้ว่าผู้เรียนของตนมีลีลาการเรียนรู้แบบใด ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบ หรือวัดได้
ลีลาการเรียนรู้ได้รับการจำแนกออกเป็นแบบต่างๆ แตกต่างกัน ขึ้นกับทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่ผู้จำแนกยึดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในบทความฉบับนี้จะนำเสนอ ลีลาการเรียนรู้ที่จำแนกตามช่องทางการรับรู้ ซึ่งแบ่งเป็นดังนี้
1. ลีลาการเรียนรู้ทางจักษุประสาท หรือทางสายตา (Visual)
เรียนรู้ได้จาการมอง การดู การเห็น การอ่าน การได้เห็นตัวอักษร การได้อ่านเนื้อหา สาระ เรื่องราว การได้เห็นภาพ แผนภูมิ แผนผัง การแสดงละคร ภาพยนต์ การเรียนรู้ในลักษณะนี้ช่วยให้บุคคลจดจำข้อมูล และเกิดความเข้าใจได้ง่าย หรือได้อย่างรวดเร็ว
2. ลีลาการเรียนรู้ทางโสตประสาท หรือ ทางหู( Auditory)
เรียนรู้ได้ดีจากการได้ยิน ได้ฟัง การบรรยาย การเล่าเรื่อง พูดคุย สนทนา อภิปราย แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น การเรียนรู้ในลักษณะนี้ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำรายละเอียด และดึงข้อมูลออกมาใช้ได้
3. ลีลาการเรียรู้ทางประสาทสัมผัส (Tactile)
เรียนรู้ได้ดีจากการได้สัมผัสจับต้องสิ่งของต่างๆ การได้ปฏิบัติ ลงมือทำชิ้นงานต่างๆด้วยตนเอง การได้รับประสบการตรง มีโอกาสสัมผัส จัดกระทำสิ่งต่างๆ สามารถช่วยให้บุคคลเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และเกิดทักษะการปฏิบัติการได้ดี
4. ลีลาการเรียนรู้ทางการเคลื่อนไหว ( Kinesthetic)
เรียนรู้ได้ดีจาการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย การได้ลงมือแสดงออกในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย สามารถช่วยให้บุคคลแบบนี้ เกิดความเข้าใจ
การที่ผู้สอนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน ช่วยให้ผู้สอนเห็นจุดด้อยของผู้เรียนแต่ละคน ทำให้สามารถแก้ปัญหาการเรียนรู้ และช่วยเหลือผู้เรียนแต่ละคนได้อยางเหมาะสม การที่ผู้เรียนทราบว่าตนเองมีลีลาการเรียนรู้ได้ดีแบบใดอะไรเป็นจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเตรียมตัวในการเรียนรู้ หรือดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดี
นักเรียนมีลีลาการเรียนรู้แบบใด
โปรดติดตามเครื่องมือการวัดลีลาการเรียนรู้
อ้างอิง: ทิศนา แขมมณี.ลีลาการเรียนรู้ - ลีลาการสอน.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2551.
Content's Picture
Size : 3.78 KBs
Upload : 2011-10-14 09:48:43
|
Size : 3.60 KBs
Upload : 2012-02-03 21:01:14
|
|
Status : ผู้ใช้ลงทะเบียน
วิทยาศาสตร์
|
|
|