K-Me Article


กรด-เบส ตอนที่ 6 สารละลายบัฟเฟอร์

กรด- เบส 
ตอนที่ 6  สารละลายบัฟเฟอร์ (Buffer solution)

            สารละลายบัฟเฟอร์  หมายถึง  สารละลายที่มีความสามารถในการควบคุมระดับ pH เอาไว้ได้  เมื่อเติมสารละลายกรดหรือเบสจำนวนที่ไม่มากเกินไป  เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำบริสุทธิ์ที่เติมกรดหรือเบสจำนวนเท่ากัน  สารละลายที่มีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น  สารละลายบัฟเฟอร์เกิดจากการผสมระหว่างสารละลายกรดอ่อนกับเกลือของกรดอ่อนนั้น  หรือสารละลายเบสอ่อนกับเกลือของเบสอ่อนนั้น  แม้ว่าสารละลายบัฟเฟอร์จะควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ดีกว่าน้ำกลั่น  แต่ถ้าเติมกรดหรือเบสมากเกินไป  สารละลายบัฟเฟอร์ก็จะไม่สามารถควบคุมระดับ  pH  เอาไว้ได้ตลอด
ในที่สุดจะเสียสมบัติในการเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ไป  เราเรียกความสามารถในการควบคุมระดับ  pH ของสารละลายบัฟเฟอร์ว่า  buffer capacity

 สารละลายบัฟเฟอร์มี 2 ประเภท

         1)  บัฟเฟอร์กรด   (Acid buffer solution)      เกิดจากสารละลายของกรดอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของกรดอ่อนชนิดนั้น  สารละลายบัฟเฟอร์ประเภทนี้มี   pH < 7    เช่น
              CH3COOH (กรดอ่อน)  +  CH3COONa (เกลือของกรดอ่อน)
              HCN (กรดอ่อน)   +  KCN (เกลือของกรดอ่อน)
              H2S(กรดอ่อน)    +  Na2S  (เกลือของกรดอ่อน)
              H2CO3(กรดอ่อน)    +  NaHCO3 (เกลือของกรดอ่อน)

         2)  บัฟเฟอร์เบส  (Basic buffer solution)  เกิดจากสารละลายของเบสอ่อนผสมกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนนั้น  สารละลายบัฟเฟอร์แบบนี้ มี pH  >  7    เช่น
              NH3 (เบสอ่อน)  +  NH4Cl (เกลือของเบสอ่อน)
              NH3 (เบสอ่อน)    +  NH4NO3 (เกลือของเบสอ่อน)
              Fe(OH)2 (เบสอ่อน)    +  FeCl2 (เกลือของเบสอ่อน)
              Fe(OH)3 (เบสอ่อน)    +  FeCl3 (เกลือของเบสอ่อน)

 วิธีเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์

              1.  เตรียมโดยตรงจากการผสมสารละลายของกรดอ่อนกับสารละลายเกลือของกรดอ่อนนั้น  หรือผสมสารละลายของเบสอ่อนกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนนั้น  ดังรูป
 

          2.  เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบส
               2.1  บัฟเฟอร์กรด  เตรียมโดยใช้สารละลสยของกรดอ่อนที่มากเกินพอ ทำปฏิกิริยากับเบส (แก่หรืออ่อนก็ได้  แต่ต้องมีจำนวนน้อยกว่ากรดอ่อนจนถูกใช้หมด)  เช่น 

                                                                                    HF(aq)        +       NaOH(aq)    ↔    NaF(aq)  +  H2O(l)
                                                                            (กรดอ่อนมากเกินพอ)       (หมด)       (เกลือของกรดอ่อนที่เกิดขึ้น)
                                                                                   (มีเหลือ)

                 ถ้าใช้ HF มากเกินพอจะมี  HF  เหลืออยู่  เมื่อเกิดปฏิกิริยาจนสมบูรณ์แล้ว  NaOH  จะหมดไป  ในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่างHF  ส่วนที่เหลือ  กับ NaF  ที่เกิดขึ้น 
          จึงเป็นบัฟเฟอร์กรด  (กรดอ่อน+เกลือของกรดอ่อนนั้น)  ดังรูป

 

                        2.2   บัฟเฟอร์เบส  เตรียมโดยใช้สารละลายเบสอ่อนที่มากเกินพอ  ทำปฎิกิริยากับสารละลายกรดกรด  (แก่หรืออ่อนก็ได้  แต่ต้องมีจำนวนน้อยกว่าเบสอ่อนจนถูกใช้หมด)  เช่น

                                                                                         HCl(aq)  +   NH4OH(aq)   →   NH4Cl(aq)  +    H2O(l)  
                                                                                        (หมด)       (มากเกินพอ)           (เกิดขึ้น)
                                                                                                           มีเหลือ

       เมื่อเกิดปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้ว  HCl  จะหมดไปแต่ NH4OH ยังมีเหลือ ฉะนั้นในระบบจะเป็นสารละลายผสมระหว่าง NH4OH  สว่นที่เหลือ กับ  NH4Cl ที่เกิดขึ้น จึงเป็นสารละลายบัฟเฟอร์เบส  (เบสอ่อน + เกลือของเบสอ่อนนั้น)

 การควบคุมค่า pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์ 

                ส่วนประกอบของสารละลายบัฟเฟอร์ จะแตกต่างจากสารละลายของกรดอ่อนหรือเบสอ่อน   คือ  ในสารละลายกรดอ่อนจะมีอนุภาคของกรดอ่อนละลายอยู่มาก  แต่อนุภาคของคู่เบสมีน้อย  เช่น   


                แต่เมื่อผสมสารละลายเกลือของ  CH3COOH  เช่น  CH3COONa  ซึ่งเป็นสารไอออนิกที่ละลายน้ำได้ดี  แตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งหมด  จึงมี  CH3COO-  อยู่เป็นจำนวนมาก  ดังนี้

                เมื่อนำมาผสมกันจะมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  ให้สังเกตว่าในสารละลายจะมีกรดอ่อนและคูเบสของกรดอ่อนเป็นจำนวนมากทั้งคู่  ดังสมการ


             การที่ในสารละลายมี กรดอ่อนและคู่เบสของกรดอ่อนนั้นอยู่เป็นจำนวนมาก  ทำให้สามารถควบคุมระดับความเป็นกรด-เบสของสารละลายเอาไว้ได้จึงมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  เพราะ  ...

                -  เมื่อเติมกรด (H+) กรดหรือ  H+  ที่เติมลงไปก็จะรวมตัวกับ  CH3COO-  เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเปลี่ยนให้อยู่ในรูป  CH3COOH ได้เกือบทั้งหมด  ทำให้ความเข้มข้น  H+  เพิ่มขึ้นน้อยกว่า
       จำนวนที่เติมลงไปจริง  pH  จึงแปลี่ยนแปลงน้อยกว่าปริมาณของ H+  ที่เติมลงไปจริง 
                                                                                   (คลิ้ก  ฃมการควบคุม  pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์กรด)

                -   เมื่อเติมเบส (OH-) เบสหรือ  OH-  ที่เติมลงไปก็จะรวมตัวกับ  H+  เปลี่ยนให้มาอยู่ในรูป  H2O ทำให้  H+  ลดลงในตอนแรก  แต่ในเวลาเดียวกัน  CH3COOH  ซึ่งมีอยู่มาก
       (สังเกตทางซ้ายของสมการ)ก็จะเกิดการแตกตัวให้ H+ มาทดแทนได้เกือบทั้งหมด  ทำให้ปริมาณของ H+ จึงลดลงน้อยกว่าปริมาณของ OH-  ที่เติม  pH  จึงเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าปริมาณของ OH- 
       ที่เติมลงไปจริง  

                สำหรับสารละลายบัฟเฟอร์เบสก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน  คือเบสอ่อนแตกตัวได้น้อย  เช่น  การละลายของ  NH4OH  ดังสมการ  ; 

         แต่สำหรับเกลือของเบสชนิดนี้  เช่น  NH4Cl  จะละลายน้ำได้ดี  ดังสมการ

    เมื่อผสมสารละลายของเบสอ่อนกับสารละลายเกลือของเบสอ่อนเข้าด้วยกัน  ในสารละลายที่ได้จากการผสมก็จะมีมากทั้งตัวของเบสอ่อนลัคู่กรดของมัน  จึงมีสมบัติเป็นสารละลายบัฟเฟอร์  ดังสมการ   
              

                                                                                       (คลิ้ก  ชมการควบคุม  pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์เบส)
                                                                          (คลิ้ก  ชมการควบคุม  pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์กรดเมื่อเติมเบสหรือเบส)

     การหา
pH ของสารละลายบัฟเฟอร์
                1.  สารละลายบัฟเฟอร์กรดหา pH จากสมการ


     ตัวอย่าง สารละลายบัฟเฟอร์ประกอบด้วย สารละลายกรดอะซิติกกับสารละลายโซเดียมอะซิเตต  ซึ่งเข้มข้น 0.1 โมล/ลิตรเท่ากันและมีปริมาตร  100  cm3 เท่ากันด้วย  ถ้า  Ka  ของกรดอะซิติกเท่ากับ 
                  1.8 x  10-5  จงหา pH ของสารละลายบัปเฟอร์นี้

     วิธีทำ    

  

                                        =  -log 1.8 x 10-5 + log (0.1 / 0.1 )
                                        =   5 – log 1.8 + log 1

                                        =   5 – 0.26

                                        =   4.24

            2. สารละลายบัฟเฟอร์เบส  หา pH ได้ดังนี้


จากนั้นจึงหา  pH  จากสมการ

                                pH    =  14 – pOH

     ตัวอย่าง   สารละลายบัฟเฟอร์ที่เกิดจากผสมสารละลายเบสอ่อน  NH4OH  และเกลือ NH4Cl  ซึ่งมีความเข้มข้น  0.1  โมล/ลิตรเท่ากัน และมีปริมาตร 100cm3  เท่ากันด้วย  ถ้า  Kb ของ NH4OH 
                   เท่ากับ  1.8 x  10-5   สารละลายบัฟเฟอร์นี้มี pH เท่าไร


                                                = - log  1.8 x 10-5 +  log (0.1 / 0.1 )

                                                =  5 – log 1.8  +log 1

                                                =  5 – 0.26

                                                =  4.74

                                pH          =   14 – pOH

                                                =   14 – 4.74

                                                =  9.26

     การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์
                สารละลายบัฟเฟอร์เป็นสารละลายที่มีราคาแพง  ใช้ในงานเฉพาะแต่ละด้าน  เช่น  ในการปรับเพื่อตั้งค่าให้ถูกต้องของเครื่องมือวิทยาศาสตร์บางชนิด    สารละลายบัฟเฟอร์สำหรับการตั้งค่า 
     pH  meter  ราคา  690  บาท / 500  ml


                สารละลายบัฟเฟอร์จะมีค่า  pH  ต่าง ๆ กัน  การเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ให้มี  pH  ตามที่ต้องการให้ดูจากค่า  pKa  ของกรดอ่อน  เช่น  ถ้ากรดอ่น  HA  มีค่า  Ka = 1.0 x 10-6  ค่า  pKa  =  6           กรดอ่อนชนิดนี้จะเหมาะสำหรับเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ที่มี  pH=6 


      จากสมการจะเห็นว่า [salt]  และ [acid] จะมีผลต่อ  pH  ของสารละลายบัฟเฟอร์  แต่พบว่าถ้า  [salt] = [acid] สารละลายบัฟเฟอร์จะมีคุณภาพดีที่สุด

                ถ้า [salt] = [acid] ;              
                                                              =  -log  1.0 x 10-6 + log 1
                                                              =   6

    ถ้า  [salt] = 2เท่าของ [acid] ;             
                                                                                =  -log  1.0 x 10-6 + log 2
                                                                                =   6.3

   ถ้า  [acid] = 2เท่าของ[salt];               
                                                             =  -log  1.0 x 10-6 + log 0.5
                                                             =   6 - 0.3

                                                             =  5.7

 

แบบฝึกหัด 

1.  If  0.010 M NH3 50 cm3  is mixed with 0.100 M NH4Cl  50 cm3 , NH3 has a Kb =1.8x10-5
     (สารละลาย  NH3 ความเข้มข้น  0.010 M จำนวน 50 cm3  ผสมกับสารละลาย  NH4Cl ความเข้มข้น  0.100 M จำนวน 50 cm3 ; ค่า  Kb  ของ  MH3  =  1.8x10-5 )
     a. setup the equilibrium expression. (จงเขียนสมการแสดงภาวะสมดุล)

 

     b.  calculate the concentration of OH- produced. (จงคำนวณหาความเข้มข้นของ  OH-)

 

     c.  calculate the pOH. (จงคำนวณหาค่า  pOH)

 

     d.  Calculate the pH  (จงคำนวณหาค่า  pH)

 

2.  What is the pH of a solution of 0.81 M acid and 0.65 M of its conjugate base if the ionization constant is
    4.92 x 10-7?  (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.81 M  มีค่า  Ka = 4.92 x 10-7 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 
    0.65 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

      a)   5.80           b)   6.40                c)   6.21                 d)   6.81                 e)   6.62

 

 

 3.  What is the pH of a solution of 0.28 M acid and 0.73 M of its conjugate base if the ionization constant is
      3.75 x 10-9?  (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.28 M  มีค่า  Ka = 3.75 x 10-9 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 
      0.73 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

      a)   9.58           b)   9.32                 c)   8.84                 d)   8.01                 e)   9.12

 

 

4.  What is the pH of a solution of 0.17 M acid and 0.50 M of its conjugate base if the ionization constant is
    2.87 x 10-9 ?  (Ans.c) (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.17 M  มีค่า  Ka = 2.87 x 10-9 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น 
     0.50 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

     a)   9.31           b)   9.59                 c)   9.01                 d)   9.98                 e)   9.71

 

 

5.  What is the pH of a solution of 0.73 M acid and 0.40 M of its conjugate base if the pKa = 7.70 ? (Ans.c)
     (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.73 M  มีค่า  pKa = 7.70  ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.40 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

     a)   8.30            b)   7.15                 c)   7.44                 d)   7.95                 e)   8.15

 

6.  What is the pH of a solution of 0.28 M acid and 0.54 M of its conjugate base if the pKa = 7.93 ? (Ans.c)
     (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.28 M  มีค่า  pKa = 7.93  ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.54 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

     a)   7.40            b)   7.65                 c)   8.21                 d)   7.00                 e)   7.22

 

 7.  What is the pH of a solution of 0.65 M acid and 0.51 M of its conjugate base if the pKa = 5.30 ? (Ans.c)

      (สารละลายกรดชนิดหนึ่งมีความเข้มข้น  0.65 M  มีค่า  pKa = 5.30  ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.51 M อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

      a)   5.85           b)   5.41                 c)   5.19                 d)   6.05                 e)   5.62

 

 

8.  What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.260 M acid and 0.640 M of its conjugate base if the ionization constant is 2.06 x 10-6 ? (Ans.a)
     (สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น  0.260 M  มีค่า  Ka=2.06 x 10-6  ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.640 M  อยากทราบว่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)

     a)   8.37 x 10-7 b)   4.21 x 10-7      c)   1.25 x 10-5       d)   2.50 x 10-6      e)   5.07 x 10-6

 

 

9.  What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.200 M acid and 0.600 M of its conjugate base if the ionization constant is 2.88 x 10-7 ? (Ans.a)
     (สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น  0.200 M  มีค่า  Ka=2.88 x 10-7 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.600 M  อยากทราบว่า
     ความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)

     a)   9.69 x 10-8                 b)   1.73 x 10-7      c)   8.64 x 10-7       d)   5.80 x 10-8      e)   4.67 x 10-7

 

10. What is the hydronium ion concentration of a solution of 0.700 M acid and 0.440 M of its conjugate base if the ionization constant is 3.59 x 10-8 ?  (Ans.a) 

      (สารละลายของกรดชนิดหนึ่งความเข้มข้น  0.700 M  มีค่า Ka=3.59 x 10-8 ละลายรวมอยู่กับคู่เบสของมันซึ่งมีความเข้มข้น  0.440 M  อยากทราบว่าความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนเป็นเท่าไร)

     a)   5.71 x 10-8                 b)   2.26 x 10-8          c)   2.47 x 10-7      d)   8.98 x 10-8      e)   1.13 x 10-7

 

11.   A buffer solution is formed by adding 0.500 mol of sodium acetate and 0.500 mol of acetic acid to 1.00 L H2O. What is the pH of the solution at equilibrium?
       (Ka = 1.80 x 10-5)
       (สารละลายบัฟเฟอร์  1  ลิตร เกิดจากโซเดียมอะซิเตตและกรดแอซืติกชนิดละ  0.500  โมล  ละลายอยู่รวมกัน  อยากทราบว่าจะมี  pH  เท่าไร  ถ้าค่า  Ka  ของกรดแอซิติกคือ  1.80 x 10-5)
       (A)   5.05      (B)   4.74                (C)   4.44              (D)   2.38               (E)   None of these

 

 

12..   The amount (in grams) of sodium acetate (MW = 82.0) to be added to 500.0 mL of 0.200 molar acetic acid (Ka = 1.80 x 10-5) in order to make a buffer with
         pH = 5.000 is        
        (เมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ให้มี pH 5.00  โดยการเติมโซเดียมอะซิเตต  (MW = 82.0) ลงในสารละลายกรดแอซิติกจำนวน  500  ml  ความเข้มข้น 
         0.200 molar   อยากทราบว่าจะต้องใช้โซเดียมอะซิเตตกี่กรัม)
        (A)  69         (B)  0.180    (C)  14.9      (D)  29.5       (E)  None of these

 

13.    What volumes of 0.500 M HNO2 (Ka = 4.0 X 10-4) and 0.500 M NaNO2 must be mixed to prepare 1.0 L of a solution buffered at pH 3.55?
        (เมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์ pH 3.55  จำนวน  1.0  ลิตร  จากสารละลาย  HNO2  ความเข้มข้น 0.500 M Ka = 4.0 X 10-4 กับสารละลาย  NaNO2
        ความเข้มข้น 0.500 M  เช่นกัน  อยากทราบว่าจะต้องใช้สารละลายแต่ละชนิด  ปริมาตรเท่าไร)

                (A)  500 mL of each solution

                (B)  703 mL 0.500 M HNO2, 297 mL 0.500 M NaNO2

                (C)  413 mL 0.500 M HNO2, 587 mL 0.500 M NaNO2

                (D)  297 mL 0.500 M HNO2, 703 mL 0.500 M NaNO2

                (E)  587 mL 0.500 M HNO2, 413 mL 0.500 M NaNO2

 

14.  Which of the following would not make a good buffering system? (ส่วนประกอบในข้อใดไม่เป็นระบบบัฟเฟอร์ที่ดี)

      (A)   SO42- and H2SO4
      (B)   HCO3- and H2CO3
      (C)   NH3 and NH+4
      (D)   CH3COO- and CH3COOH

 

15.  If 1.00 L of 1.00 M CH3COOH is mixed with 0.25 mole of solid NaOH (assume no volume change), what will be the pH of the resulting solution?
      (Ka = 1.8 x 10-5).
     (เมื่อผสมสารละลาย CH3COOH Ka = 1.8 x 10-5 ความเข้มข้น  1.00 M จำนวน  1.00 L  กับ  NaOH  จำนวน  0.25 mole  เข้าด้วยกัน  โดยสมมติว่าปริมาตรคงที่ 
      อยากทราบว่าสารละลายผสมจะมี  pH  เท่าไร)

                (A)  4. 14                  (B)  4.26                    (C)  4.74             (D)  5.35

 

16.  Which solution would show the least change in pH upon addition of 3.0 mL of 1.0 M KOH? (Assume equal volumes of each solution are used.
      Ka for HC2H3O2 = 1.8 x 10-5)    
      (ถ้านำสารละลายในแต่ละข้อของตัวเลือกมาในปริมาณที่เท่ากัน  แล้วทดลองเติมสารละลาย  KOH  ความเข้มข้น  1.0 M จำนวน  3.0 mL ลงในแต่ละสารละลาย  อยากทราบว่าชนิดใดที่  pH 
      เปลี่ยนน้อยที่สุด)

                (A)   A solution that is 0.50 M acetic acid and 0.50 M sodium acetate.

                (B)   A solution that is 0.10 M acetic acid and 0.10 M sodium acetate.

                (C)   A solution that is 1.0 M acetic acid.

                (D)   A solution that is 0.50 M sodium acetate.

17.  What volume of 0.100 M NaOH must be added to 1.00 L of 0.0500 M HA
        (Ka = 4.0 x 10-8) to achieve a pH of 8.00?
        (มีสารละลายของกรดอ่อน  HA (Ka = 4.0 x 10-8)  ความเข้มข้น  0.0500M อยู่  1  ลิตร  อยากทราบว่าจะต้องเติมสารละลาย  NaOH ความเข้มข้น  0.100 M  ลงไปกี่ลิตร
        เพื่อทำให้สารละลายมี  pH=8)

                (A) 1.00 L         (B) 5.00 L         (C) 2.00 L         (D)  4.00 L         (E)  None of these

 

18.  Determine the pH of a solution in which 1.00 mol H2CO3 (Ka = 4.2 x 10-7) and 1.00 mole NaHCO3 are dissolved in enough water to form 1.00 L of solution.
      (เมื่อใช้  H2CO3  , Ka = 4.2 x 10-7  จำนวน  1.00  โมล ละลายรวมกับ  NaHCO3  จำนวน  1.00  โมลเช่นกัน  ในสารละลาย  1.00  ลิตร  อยากทราบว่าสารละลายมี  pH  เท่าไร)

 

19.  How many moles of NaHCO3 should be added to one liter of 0.100 M H2CO3 (Ka = 4.2 x 10-7) to prepare a buffer with pH =  7.00?
      (มีสารละลาย  H2CO3 ( Ka = 4.2 x 10-7 )  ความเข้มข้น 0.100 M  อยู่  1 ลิตร  อยากทราบว่าเมื่อต้องการเตรียมสารละลายบัฟเฟอร์  ให้มี  pH=7  จะต้องเติม  NaHCO3  ลงไปกี่โมล)

 

20.  Determine the pH of 0.01 M NH3 (Kb= 1.8 x 10-5) when an equal volume of 0.05 M NH4Cl is added.
      (สารละลาย  NH3  (Kb= 1.8 x 10-5)  ความเข้มข้น  0.1M  ถ้าเติมสารละลาย  NH4Cl  ความเข้มข้น  0.05M  และมีปริมาตรเท่ากันลงไป  สารละลายที่ได้จะมี  pH  เท่าไร)

 

21.  Determine the pH of an HCN/KCN buffer containing 0.10 mole HCN and 0.07 mole KCN before and after  
   the addition of 0.001 mol HCl to one liter of buffer.  (Ka = 4.79 x 10-10)
   รละลายบัฟเฟอร์ระหว่าง  HCN/KCN (Ka = 4.79 x 10-10) จำนวน  1  ลิตร  ประกอบด้วย  HCN  0.10  mol  กับ   
   KCN  0.07  mol  เมื่อเติม  HCl  ลงไป  0.001  mol  อยากทราบว่า  pH  จะเป็นเท่าไร

 

 

22.  If 25 mL of 0.2 M NaOH is added to 50 mL of 0.1 M CH3COOH (Ka = 1.8 x 10-5), what is the pH?
       (เมื่อสารละลาย  NaOH  ความเข้มข้น  0.2M  จำนวน  25  mL  ผสมกับสารละลาย  CH3COOH (Ka = 1.8 x 10-5),  
        ความเข้มข้น  0.1M  จำนวน  50  mL สารละลายที่ได้จากการผสมจะมี  pH  เท่าไร)

 

 

23.  Calculate the mass of (NH4)2SO4 that must be added to 1 L of 0.50 M NH3 in order to prepare a buffer with a pH of 8.65.  
      (Ka  of NH4+ = 5.6 x 10-10).
      (มีสารละลาย  NH3  ความเข้มข้น  0.50M  อยู่  1  ลิตร  อยากทราบว่าเมื่อต้องการทำให้เป็นสารละลายบัฟเฟอร์  pH 8.65  จะต้องเติม  (NH4)2SO4 
      กี่กรัม  ถ้า  Ka  ของ  NH4+ = 5.6 x 10-10   )

 

24.    Calculate the pH of the solution prepared when 0.250 mol HClO4  is added to 2.00 L of a solution that is 0.500 M CH3CO2H and 0.400 M CH3CO2Na.
        (Ka of CH3CO2H = 1.8 x 10-5)

         (มีสารละลายอยู่  2  ลิตร  โดยในสารละลายมี  CH3CO2H และ  CH3CO3Na  ละลายอยู่รวมกัน  มีความเข้มข้น  0.500  และ  0.400  โมลลาร์  ตามลำดับ  ค่า Ka ของ CH3CO2H = 1.8 x 10-5 
         อยากทราบว่าถ้าเติม  HClO4  ลงไป  0.250  โมล  pH  ของสารละลายจะเป็นเท่าไร)

 

25.   A buffer is prepared in which the ratio of HCO3-/CO32- is 5.00.

       (ถ้ามีสารละลายบัฟเฟอร์ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่าง  HCO3-/CO32- = 5.00. )
      (A)   What is the pH of this buffer? (Ka for HCO3-  = 4.80 x 10-11)
      (สารละลายบัฟเฟอร์นี้มี  pH  เท่าไร  ถ้า  Ka  ของ  HCO3-  =  4.80 x 10-11)

(B)   Enough strong acid is added to make the pH of the buffer 9.30. What is the ratio of HCO3-/CO32- at this  point? 
       (ถ้าเติมกรดแก่ลงไปจนกระทั่งสารละลายมี  pH = 9.30  อยากทราบว่าอัตราส่วนระหว่าง  HCO3-/CO32- เป็นเท่าไร)

 





Content's Picture
Comment(s)

Current Page(s) 1/0
<<
1
>>

Vote this Content ?

0
Vote(s)
Create by :


K-Me
Detail Share
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.555850 sec.