K-Me Article


สมบัติของธาตุและสารประกอบ ตอนที่ 3 ธาตุแฮโลเจน ธาตุกึ่งโลหะ และการทำนายตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุ

ธาตุหมู่ VIIA (เฮโลเจน , halogen)  (คลิ้กเพื่อเปิดตารางธาตุ)

          ธาตุหมู่ VIIA มีทั้งหมด 5 ธาตุ คือ ฟลูออรีน (F)  คลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) ไอโอดีน (I) และแอตตาติน (At)  สำหรับธาตุแอตตาตินไม่มีในธรรมชาติ   เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่ได้จากการสังเคราะห์ 

 สมบัติทั่วไปของธาตุหมู่  VIIA  มีดังนี้

ตาราง แสดงสมบัติบางประการของธาตุหมู่ VIIA 

สมบัติ

ธาตุหมู่ 7A

F

Cl

Br

I

เลขเชิงอะตอม

9

17

35

53

การจัดเรียงอิเล็กตรอน

2,7

2, 8, 7

2, 8, 8, 7

2,8,18,8,7

รัศมีอะตอม (pm) *

71

99

144

133

IE1 (kJ/mol)

1687

1257

1146

1015

อิเล็กโทรเนกาติวิตี

4.0

3.0

2.8

2.5

อิเล็กตรอนอัฟฟินิตี(kJ/mol)

333

348

340

297

จุดหลอมเหลว (oC)

-220

-101

-7

114

จุดเดือด(oC)

-188

-34.5

59

184

ความหนาแน่น(g/cm3) **

1.51

1.56

3.12

4.93

สูตรโมเลกุล

F2

Cl2

Br2

I2

สถานะที่อุณหภูมิห้อง

ก๊าซ

ก๊าซ

ของเหลว

ของแข็ง

* หมายถึงรัศมีโคเวเลนต์
** ความหนาแน่นของ F2 , Cl2 ในสถานะของเหลว ถ้าเป็นก๊าซจะเท่ากับ 0.00170 และ 0.00312 g/cm3 ตามลำดับ 

 

สมบัติทั่วไปของธาตุหมู่ VIIA  

  1. เป็นอโลหะ ธาตุคาบบนเป็นอโลหะมากกว่าธาตุคาบล่าง  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 สภาวะปกติ F2 และ Cl2 เป็นก๊าซ สีเหลืองอ่อนและเขียวอ่อนตามลำดับ Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดงหรือสีส้ม  ไอมีสีเดียวกัน สำหรับ  I2 เมื่อเป็นของแข็งมีสีดำ เมื่อเป็นไอจะเป็นสีม่วง เมื่อละลายในตัวทำละลายมีขั้วจะมีสีน้ำตาล  เมื่อละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้วจะมีสีม่วงหรือสีบานเย็นขึ้นกับความเข้มข้น  (สังเกต  สีของธาตุแฮโลเจนคาบล่างจะเข้มกว่าคาบบน )  แต่เมื่ออยู่ในรูปของไอออน (เฮไลด์) คือ  F-  Cl-  Br-  และ  I-  จะไม่มีสีทุกชนิด 

                                                                            (คลิ้ก  เพื่อสังเกตสีของธาตุแฮโลเจนชนิดต่าง ๆ )
      

                                                                      (คลิ้ก  ชมวีดีทัศน์แสดงการระเหิดของไอโอดีนเปรียบเทียบสีของไอกับของแข็ง)   

รูปโมเลกุล

รูปไอออน 

F2 (เหลืองอ่อน)

F- (ไม่มีสี)

Cl2 (เขียวอ่อน)

Cl-(ไม่มีสี)

Br2 (สีน้ำตาล)

Br-(ไม่มีสี)

I2(ของแข็งสีดำ ไอสีม่วง ในตัวทำละลายมีขั้วสีน้ำตาล
ในตัวทำละลายไม่มีขั้วสีม่วง)

I-(ไม่มีสี)

 

  1. โมเลกุลของธาตุแฮโลเจนทุกชนิดเป็นโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) คือ  F2  Cl2  Br2  I2  ระหว่างอะตอมทั้งคู่ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะเดี่ยว   ระหว่างโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงวันเดอร์วาลส์  ชนิดแรงลอนดอน 
  2.  ไม่นำความร้อนและไฟฟ้าเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุล (F2  Cl2  Br2  I2)   แต่นำไฟฟ้าได้เมื่อยู่ในรูปเฮไลด์ในสารละลาย  (F-  Cl-  Br-  I-)
  3. อะตอมมีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน   แต่เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุหมู่เดียวกัน  ธาตุคาบล่างมีขนาดใหญ่กว่าธาตุคาบบน 
  4. ความหนาแน่นน้อย แต่มีแนวโน้มว่าธาตุคาบล่างมีความหนาแน่นมากกว่าธาตุคาบบน 
  5. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอต่ำ   เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย  (คือแรงวันเดอร์วาลส์)  แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากคาบบนสู่คาบล่าง  (มวลโมเลกุลมาก  แรงวันเดอร์วาลส์มาก) 
  6. มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดของธาตุในคาบเดียวกัน แต่ลดลงจากคาบบนสู่คาบล่าง  ( F เป็นธาตุที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดในบรรดาธาตุทั้งหมด คือ 3.98 หรือประมาณ 4.00 ฉะนั้นเมื่อยู่ในสารประกอบใด ๆ จึงมีเลขออกซิดชัน  - 1  เสมอ) 
  7. มี IE1 ค่อนข้างสูง แต่จะลดลงจากคาบบนสู่คาบล่าง 
  8. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  คือเมื่ออยู่ในสารประกอบธาตุคู่จะมีเลขออกซิเดชัน -1  แต่เมื่ออยู่ในสารประกอบอื่น ๆ  ที่มีธาตุมากกว่า  2  ธาตุ  มักจะมีเลขออกซิเดชันไม่แน่นอน  (ยกเว้น  F  ไม่ว่าจะอยู่ในสารประกอบใดจะมีเลขออกซิเดชัน -1 เสมอ)  เช่น  ธาตุ  Cl  ในสารต่อไปนี้   NaCl   Cl2   HClO  HClO2  HClO3  HClO4    มีเลขออกซิเดชัน  -1  0  +1  +3  +5  +7  คามลำดับ 
    *  สารประกอบในลักษณะต่อไปนี้  เสมือนเป็นสารประกอบธาตุคู่   เฮโลเจนในสารประกอบเหล่านี้มีเลขออกซิเดชัน  -1   ;  [Cr(NH3)3(H2O)3]Cl3   [Pt(NH3)5Cl]Br3    [Pt(H2NCH2CH2NH2)2Cl2]Cl2    [Co(H2NCH2CH2NH2)3]2(SO4)3   Pt(NH3)2Cl4 
  9.  ธาตุหมู่ VIIA ละลายในน้ำได้เล็กน้อยเนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว  แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ซึ่งไม่มีขั้ว  เช่น  C6H14   CCl4  สารละลายมีสีต่าง ๆ กัน  คือ  Cl2 ไม่มีสี   Br2 สีส้ม    I2  มีสีของสารละลายหลายแบบ  คือเมื่อละลายในตัวทำละลายมีขั้วจะมีสีน้ำตาล  เมื่อละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้วจะมีสีม่วง  (ต่างจาก  Br2  สารละลายมีสีน้ำตาลหรือสีส้มเช่นกันทั้งในตัวทำละลายมีขั้วและไม่มีขั้ว) 

         13.  ธาตุคาบบนสามารถทำปฏิกิริยากับเฮไลด์ของธาตุคาบล่างได้ แต่ธาตุคาบล่างจะไม่ทำปฏิกิริยากับเฮไลด์ของธาตุคาบบน      ดังตาราง

ธาตุ

เฮไลด์

F2

F-

Cl2

Cl-

Br2

Br-

I2

I-

         

ปฏิกิริยาที่เกิดได้จริงมีดังนี้ 

        F2 + 2Cl-  →  2F- + Cl2                       

        F2 + 2Br-  → 2F- + Br2                        

         F2 + 2I-  →  2F- + I2

        Cl2 + 2Br-  →  2Cl- + Br2                    

         Cl2 + 2I-  →  2Cl- + I2                         

         Br2 + 2I →  2Br- + I2

 

(คลิ้ก ชมวีดีทัศน์ปฏิกิริยาระหว่าง Cl2 + 2Br-  )

(ชมวีดีทัศน์ปฏิกิริยาระหว่าง  Cl2+2I-)

 

ปฏิกิริยาต่อไปนี้เกิดขึ้นเองไม่ได้ 

       I2 + 2Br-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา             
       I2 + 2Cl-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา             

        I2 + 2F-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา

        Br2 + 2Cl-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา          
        Br2 + 2F-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา

        Cl2 + 2F-  →  ไม่เกิดปฏิกิริยา

 

ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid)  (คลิ้กเพื่อเปิดตารางธาตุ)

 

 ตารางธาตุที่ใช้ในปัจจุบันมีเส้นแบ่งความเป็นโลหะหรืออโลหะของธาตุ  เริ่มจากธาตุหมู่  3A คาบที่  2  สลับฟันปลาลงไป   (บางครั้งเรียกว่าขั้นบันได)  ธาตุที่อยู่ติดกับแนวเส้นแบ่งนี้เป็นธาตุกึ่งโลหะ  (metalloid)   แต่ยกเว้น  Al  จัดให้เป็นโลหะ  Po  และ  At เป็นธาตุกัมมันตรังสี  ดังรูป

 

  

 

 

 

 

ตารางแสดงสมบัติบางประการของธาตุกึ่งโลหะ ธาตุอะลูมิเนียม และธาตุไอโอดีน 

 

 

จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน

รัศมีอะตอม 

(pm)

IE1

(kJ/mol)

EN

(kJ/mol)

ความหนาแน่น 

(g/cm3)

จุดหลอมเหลว(oC)

จุดเดือด 

(oC)

การนำไฟฟ้า 

การเกิดสารประกอบ 

โลหะ 

Al

3

143

587

1.61

2.70

660

2450

นำ

ไอออนิก 

กึ่งโลหะ

B

3

88

807

2.04

2.34

2300

2550

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

 

Si

 

4

 

117

 

793

 

1.09

 

2.33

 

1410

 

2355

 

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์ร่างตาข่าย

Ge

4

122

768

2.01

5.35

937

2830

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

As

5

121

953

2.18

2.03

358

613

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

Sb

5

141

840

2.05

6.68

631

1653

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

Te

6

137

876

2.10

6.00

450

990

นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

Po

6

150

818

2.00

-

254

692

-

-

At

7

140

-

2.20

-

1050

3200

-

-

อโลหะ

I

7

133

1015

2.66

4.93

114

183

ไม่นำ

ไอออนิกและโคเวเลนต์

 

          จากตารางพบว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงแอสทาทีน  ธาตุส่วนใหญ่จะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และค่าเล็กโตรเนกาติวิตีค่อนข้างสูงคล้ายกับธาตุอโลหะ จุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูง และนำไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับธาตุโลหะ   (การนำไฟฟ้าต่างจากโลหะคือยิ่งร้อนยิ่งนำไฟฟ้าได้ดี  ในขณะที่โลหะจะนำไฟฟ้าน้อยลงเมื่อร้อน)  เกิดสารประกอบได้ทั้งสารประกอบไอออนิก (คล้ายโลหะ) และสารประกอบโคเวเลนต์ (คล้ายอโลหะ)  การมีสมบัติคล้ายทั้งโลหะและอโลหะดังกล่าวมานี้  จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ (ยกเว้นธาตุ Al  จัดให้เป็นโลหะเพราะแสดงสมบัติเป็นโลหะได้ชัดเจน แต่สมบัติของสารประกอบออกไซด์คล้ายธาตุกึ่งโลหะ คือ Al2O3 มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส ,amphoteric oxide   ส่วนธาตุ Po และ At เป็นธาตุกัมมันตรังสี)

 

การทำนายตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุเมื่อทราบสมบัติของธาตุ

 

            การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ   ช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้าทราบสมบัติของธาตุ  จะทำนายได้ว่าธาตุอยู่ในตำแหน่งใดของตารางธาตุ   

ตัวอย่าง   ถ้าธาตุ  X มีสมบัติดังนี้  ควรอยู่บริเวณใดในตารางธาตุ

  

สมบัติ

ลักษณะที่ปรากฏ

สถานะ

เป็นของแข็ง

สีผิว

ผิวเป็นมันวาว

การนำไฟฟ้า

นำไฟฟ้าได้

การละลายในน้ำของสารประกอบ

ไม่ละลายน้ำ

การทำปฏิกิริยากับ Cl2

เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง มีเปลวไฟและควันสีขาว เมื่อเย็นจะได้ของแข็งสีขาว

การละลายในน้ำของสารสีขาวที่เกิดขึ้น

ละลายน้ำได้เล็กน้อย สารละลายมีสมบัติเป็นกรด

 

แนวคิด จากสมบัติต่าง ๆ ของธาตุ X สามารถทำนายได้ว่า

-  ธาตุ X มีสมบัติคล้ายโลหะคือ มีผิวเป็นมันวาว นำไฟฟ้าได้ และไม่ละลายน้ำ ธาตุ X  ไม่ควรเป็นธาตุหมู่ IA  หรือหมู่ IIA

-  เมื่อธาตุ X ทำปฏิกิริยากับ Cl2 ได้สารประกอบคลอไรด์เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้สารละลายมีสมบัติเป็นกรด แสดงว่าเป็นสารประกอบคลอไรด์ของอโลหะ

-   จากข้อมูลทั้งหมดทำนายได้ว่าธาตุ X มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ X จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ และควรอยู่ในหมู่ IVA ทางตอนล่างของตารางธาตุ

 

-  ในทางกลับกัน ถ้าทราบตำแหน่งของธาตุในตารางธาตุ  จะสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง  ธาตุ Y เป็นธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 19 ธาตุ Y ควรจะมีสมบัติเป็นอย่างไร

  • แนวคิด เมื่อทราบเลขเชิงอะตอม ทำให้ทราบข้อมูลอื่น ๆ ดังนี้

-                   การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Y คือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1  หรือ  Y  2  8  8  1

-                    ธาตุ Y อยู่ในหมู่   IA   และอยู่ในคาบที่   4

-                   จากข้อมูลช่วยให้ทำนายได้ว่าธาตุ Y ควรเป็นธาตุหมู่ IA เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 และจำนวนอิเล็กตรอนของชั้นที่ถัดเข่้ามาเท่ากับ  8  เมื่อเกิดเป็นสารประกอบจะมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 มีสถานะเป็นของแข็ง  ณ อุณหภูมิห้อง  และมีสมสมติต่าง ๆ  ทำนองเดียวกับธาตุหมู่  IA  ชนิดอื่น ๆ



Content's Picture

Size : 28.18 KBs
Upload : 2013-08-27 05:00:15
Comment(s)

Current Page(s) 1/0
<<
1
>>

Vote this Content ?

0
Vote(s)
Create by :


K-Me
Detail Share
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.689052 sec.