แบบฝึกหัดเรื่องสมดุลเคมี ตอน ค่าคงที่สมดุล
ตัวอย่างข้อสอบเรื่องสมดุลเคมี
1. (Ent.40) จากสมการ A(s) + B(g) C(s) ; K = 102 จงหาจำนวนโมลของ B ที่เกิดขึ้นที่ภาวะสมดุลในภาชนะปิดขนาด 0.20 ลิตร ที่มี C อยู่ 0.50 กรัม
2. (Ent.40) เผาถ่าน ( C ) ด้วย O2 จำนวน 2 โมลในภาชนะปิดได้ CO2 ดังสมการ
C(s) + O2(g) ↔ CO2(g)
ที่ภาวะสมดุลเกิดก๊าซ CO2 x โมล ถ้าทำการทดลองซ้ำที่อุณหภูมิเดียวกัน โดยใช้ผงถ่านและ O2 เท่าเดิม แต่ลดปริมาตรของภาชนะลงเหลือครึ่งหนึ่ง ที่ภาวะสมดุลนี้เกิด CO2 y โมล x และ y มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
3. (Ent.40) เผา CaCO3 ที่ 273 .C ในภาชนะปิดขนาด 20 ลิตร ค่าคงที่สมดุลของ
CaCO3(s) ↔ CaO(s) + CO2(g) ที่ 273 . C มีค่าเท่ากับ 0.05 ที่ภาวะนี้เกิดก๊าซ CO2 คิดเป็นความดันกี่บรรยากาศ
4. (Ent.41) จากปฏิกิริยา PCl5(g) ↔ PCl3(g) + Cl2(g) ที่ภาวะเริ่มต้นมีความเข้มข้นของ PCl5 และ PCl3 0.84 และ 0.18 mol/dm3 ตามลำดับ ถ้าที่ภาวะสมดุล PCl5 มีความเข้มข้น 0.72 โมล/ลิตร ค่าคงที่สมดุลเป็นเท่าไร
5. (Ent.43) เมื่อปฏิกิริยาเข้าสู่ภาวะสมดุล
2A(g) + B(g) ↔ C(g) ถ้าปริมาณเริ่มต้นของ A = 1.20 โมล B = 0.80 โมล และพบว่าที่ภาวะสมดุลมี A เหลืออยู่ 0.90 โมล ปฏิกิริยานี้มีค่าคงที่สมดุลเท่าไร
6. (Ent.43) สมดุล I2(g) + Br2(g) ↔ 2IBr(g) ; K = 256 ที่ 150 องศาเซลเซียส ถ้าเริ่มต้นด้วย I2 และ Br2 ปริมาณเท่ากันในภาชนะปิดสนิทที่ 150 .C ณ สมดุลมี IBr อยู่ 4.0 โมล/ลิตร จงหาความเข้มข้นของ I2 ที่เหลือในหน่วยโมล/ลิตร
7. (Ent.44) แก๊ส H2 ทำปฏิกิริยากับแก๊ส I2 ได้แก๊ส HI เป็นผลิตภัณฑ์ ถ้าเริ่มต้นด้วยแก๊ส H2 6 mol และ แก๊ส I2 6 mol ในภาชนะขนาด 2 ลิตร ที่สมดุลพบว่ามีแก๊ส I2 เหลืออยู่ 2 โมล ถ้ารบกวนสมดุลนี้โดยการเติม HI ลงไป 12 โมล ที่สมดุลใหม่จะมี HI กี่โมล
8. (Ent.44) พิจารณาปฏิกิริยา 3X(aq) + 2Y(aq) ↔ 4Z(aq) + พลังงาน
ถ้าเริ่มการทดลองด้วยสารละลาย X และ Y เข้มข้น 2.5 และ 5 โมล/ลิตร ตามลำดับ เมื่อปฏิกิริยาเข้าสู่ภาวะสมดุล พบว่ามี Z เกิดขึ้น 2 โมล/ลิตร จงหา [X] และ [Y] ที่ภาวะสมดุล
9. (Ent.44) เผา NaHCO3 ได้แก๊ส CO2 ดังสมการ
2NaHCO3 (s) ↔ Na2CO3(s) + CO2(g) + H2O(g)
ที่อุณหภูมิ 100 0C มีค่าคงที่สมดุลเท่ากับ 0.04 ถ้าเผา NaHCO3 หนัก 50 กรัม ในภาชนะปิดขนาด 1 ลิตร ที่ภาวะสมดุล NaHCO3 สลายตัวไปร้อยละเท่าไรโดยน้ำหนัก
10. (Ent.44) ปฏิกิริยาระหว่างแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์กับไฮโดรเจนเป็นดังสมการ
CO(g) + 3H3(g) ↔ CH4(g) + H2O(g)
บรรจุแก๊ส CO 1.00 โมล และแก๊ส H2 3.00 โมล ลงในภาชนะขนาด 10 ลิตร ที่อุณหภูมิหนึ่ง เมื่อระบบเข้าสู่ภาวะสมดุลพบว่ามีน้ำเกิดขึ้น 7.2 กรัม จงหาว่าที่ภาวะสมดุลจะมีจำนวนโมลของ CO H2 CH4 และ H2O รวมกันทั้งหมดเท่าไร
11. (Ent.45) พิจารณาสมดุลของปฏิกิริยา A(aq) + B(aq) ↔ C(aq) นำ A 1 โมลและ B 2.5 โมล ละลายในน้ำแล้วทำให้ปริมาตรของสารละลายเป็น 0.5 ลิตร เมื่อปฏิกิริยาเข้าสู่ภาวะสมดุล พบว่าความเข้มข้นของ A เท่ากับ 1 โมล/ลิตร ถ้าทดลองใหม่โดยเริ่มต้นจากการละลาย C 0.5 โมล ในน้ำแล้วทำให้ปริมาตรของสารละลายเป็น 0.25 ลิตร เมื่อระบบเข้าสู่ภาวะสมดุล จะมีความเข้มข้นของ C เป็นกี่โมล/ลิตร
12. A-net 49 ปฏิกิริยา A(g) + G(g) ↔ C(g) + D(g) ที่อุณหภูมิ 500 0C การเกิดปฏิกิริยามี 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 2A(g) ↔ C(g) + X(s) ค่าคงที่สมดุล = 5.0 x 10-2
ขั้นที่ 2 X(s) + B(g) ↔ A(g) + D(g) ค่าคงที่สมดุล = 8.0 x 10-2
ที่ 500 0C ปฏิกิริยา C(g) + D(g) ↔ A(g) + B(g) จะมีค่าคงที่สมดุลเท่าไร
1. 1.3 x 10-2 2. 4.0 x 10-3 3. 2.5 x 10-2 4. 4.0 x 103
13. A-net 50 แก๊ส CO 0.05 โมล ทำปฏิกิริยากับแก๊ส Cl2 0.06 โมล ในภาชนะขนาด 500 cm3 หลังจากเกิดปฏิกิริยาดังสมการ พบว่าที่ภาวะสมดุลมี COCl2 เกิดขึ้น 3.96 กรัม
CO(g) + Cl2(g) ↔ COCl2(g) ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาเป็นเท่าใด
1. 6.7 2. 13.3 3. 100 4. 200
14. A-net 50 การสลายตัวของ ammonium hydrogen sulfide (NH4HS) เกิดขึ้นดังสมการ
NH4HS(s) ↔ NH3(g) + H2S(g)
ถ้านำ NH4HS หนัก 10.20 กรัม บรรจุในภาชนะขนาด 4 dm3 ปล่อยให้สลายตัวจนถึงสมดุลที่ 27 0C พบว่าเกิดความดันรวมเท่ากับ 0.96 atm ค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยานี้ที่ 27 0C มีค่าเท่าใด
1. 4.0 x 10-3 2. 8.0 x 10-3 3. 4.0 x 10-4 4. 8.0 x 10-4
15. สอวน.47 สำหรับระบบ 2NO2(g) ↔ N2O4(g) เมื่อทดลองบรรจุ N2O4 0.625 โมล ในภาชนะขนาด 5.0 ลิตร แล้วปล่อยทิ้งไว้จนเข้าสู่ภาวะสมดุลกับ NO2 พบว่าที่ภาวะสมดุล ความเข้มข้นของ N2O4 = 0.075 mol/dm3 ค่าคงที่สมดุล (K) ของปฏิกิริยามีค่าเท่าไร
1. 0.062 dm3/mol 2. 0.45 dm3/mol
3. 0.75 dm3/mol 4. 7.5 dm3/mol
Content's Picture
Size : 5.11 KBs
Upload : 2013-07-21 20:59:54
|
|
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์
|
|
|