K-Me Article


การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation)

การดุลสมการรีดอกซ์ (Balancing Redox Equation)

             การดุลสมการรีดอกซ์มีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการดุลสมการของปฏิกิริยาธรรมดา ปฏิกิริยารีดอกซ์บางปฏิกิริยาอนุภาคทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ล้วน ๆ เช่น  
H2  +  Cl2 →  2HCl  ในขณะที่บางปฏิกิริยาจะมีทั้งอนุภาคท่ีเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์  ในขณะท่ีอนุภาคอีกส่วนหน่ึงเกิดปฏิกิริยาธรรมดา เช่น 

KMnO4 + NaCl + H2SO4 →  Cl2 + K2SO4 + MnSO4 + H2O + Na2SO4

-          ส่วนที่เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์คือธาตุที่มีการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน  ได้แก่  Mn  ใน  KMnOและ   Cl  ใน  NaCl

-          ส่วนที่เกิดปฏิกิริยาธรรมดาคือธาตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชัน  ได้แก่  K  O Na H และ S 

           การดุลปฏิกิริยารีดอกซ์ที่มีปฏิกิริยาธรรมดารวมอยู่ด้วย  ให้ดุลส่วนที่เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ก่อน   แล้วจึงดุลส่วนที่เกิดปฏิกิริยาธรรมดา นอกจากนั้นแล้วยังเกี่ยวข้องกับภาวะแวดล้อมของปฏิกิริยาว่าเป็นกลางหรือเป็นกรดหรือเป็นเบสอีกด้วย  การดุลสมการรีดอกซ์อาจทำได้ 2 วิธีคือ

            1.  ดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้เลขออกซิเดชัน (Balancing redox equation using oxidation number)

            2.  ดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ (Balancing redox equation using half reaction)

การดุลสมการรีดอกซ์โดยใช้เลขออกซิเดชัน  มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

            1.  หาตัวรีดิวซ์ (ธาตุที่มีเลขออกดซิเดชั่นเพิ่มขึ้น)  และตัวออกซิไดซ์ (ธาตุที่มีเลขออกซิเดชันลดลง)  เลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่ตัวรีดิวซ์ปล่อยออกไป  เลขออกซิเดชันที่ลดลงหมายถึงจำนวนอิเล็กตรอนที่ตัวออกซิไดซ์รับไว้  เช่น

                                                                         
            2.  ถ้าเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับเลขออกซิเดชันที่ลดลง  แสดงว่าจำนวนอิเล็กตรอนที่ตัวรีดิวซ์ปล่อยออกไป  กับจำนวนอิเล็กตรอนที่ตัวออกซิไดซ์รับเอาไว้มีจำนวนเท่ากัน  ให้ดุลสมการต่อไปจนจบ  แต่ถ้าเลขออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้นและลดลงมีค่าไม่เท่ากัน  ให้หาตัวเลขที่เหมาะสมมาคูณเลขออกซิเดชันที่เพิ่มและลดเพื่อให้ได้ค่าเท่ากัน  แล้วให้ใช้ตัวเลขที่นำมาเป็นตัวคูณนั้น  เป็นจำนวนโมล ของตัวรีดิวซ์หรือตัวออกซิไดซ์ตามลำดับ

                                                                              


            3.  ดุลจำนวนโมลของตัวรีดิวซ์กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากตัวรีดิวซ์ให้เท่ากัน  และดุลจำนวนโมล ของตัวออกซิไดซ์กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากตัวออกซิไดซ์ให้เท่ากันด้วย 
            

                                                                                  

            4.  ถ้ามีกรดอยู่ในปฏิกิริยาให้พิจารณาดังนี้  (ตัวอย่างนี้เป็นแบบ 4.2)

                        4.1  กรดไม่เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์  สังเกตไอออนลบของกรด(คู่เบส)ไม่เปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่น  กรณีนี้ดุลสมการโดยการทำให้จำนวนโมลของกรดทางสารตั้งต้น ให้มีจำนวนโมลเท่ากับจำนวนโมลของไอออนลบของกรด(คู่เบส)ทั้งหมดทางด้านผลิตภัณฑ์  ที่อาจอยู่ในผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้

                        4.2  กรดเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์บางส่วน  สังเกตจากไอออนลบของกรดมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสารใหม่บางส่วน  แต่ยังคงมีไอออนลบในรูปเดิมเหลืออยู่ด้วย  ในกรณีนี้ให้ตรวจสอบดูว่าไอออนลบของกรดที่อยู่ในรูปเดิมทางด้านผลิตภัณฑ์ยังมีอยู่กี่โมล  ให้เพิ่มจำนวนโมลของกรดทางสารตั้งต้นอีกเท่านั้น  ตัวอย่างยี้มีกรด HNO3 อยู่ในปฏิกิริยา  คู่เบสของมันคือ  NO3จะเห็นได้ว่ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์  6  โมล  จึงต้องเพิ่อม  HNO3

                                                                                      
                        4.3  กรดเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ทั้งหมด  สังเกตจากไม่มีไอออนลบของกรดในรูปเดิมเหลืออยู่เลยในผลิตภัณฑ์  กรณีนี้ให้ดุลสมการต่อไปโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนโมลของกรดทางสารตั้งต้น

               5.  ดุลสมการส่วนที่ไม่เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์  แล้วทำให้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำเท่าที่จะทำได้
                                                                                   

               6.  ถ้าปฏิกิริยาเกิดขึ้นในสารละลายกรดบางครั้งจะพบว่าหลังจากดุลสมการทุกส่วนแล้ว  ยังขาดอะตอมของ  H  หรือ O  ทางด้านใดด้านหนึ่ง  ให้แก้ปัญหาดังนี้

                    6.1  ด้านใดขาด  H  ให้เติม  H+   ตามจำนวนที่ขาด   
                    6.2  ด้านใดขาด  O  ให้เติม  H2O  ตามจำนวนโมลที่ขาด  ดังตัวอย่าง (ตัวอย่างใหม่)

                                                                                    
                   ทางซ้ายมี O = 4  ทางขวายังไม่มี  ต้องเติม  4H2O  แต่ก็มีผลให้ทางขวามี H = 8 ขณะที่ทางซ้ายยังไม่มี  ต้องเติม  8H+  ทางซ้าย

                                                                           
               7.  ถ้าปฏิกิริยาเกิดขึ้นในสารละลายเบสบางครั้งจะพบว่าหลังจากดุลสมการทุกส่วนแล้ว  ยังขาดอะตอมของ  H  หรือ O  ทางด้านใดด้านหนึ่ง  ให้แก้ปัญหาดังนี้
                    7.1  ด้านใดขาด  O  ให้เติม  H2O  ตามจำนวนที่ขาด  เช่นเดียวกับปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสารละลายกรด  ดังตัวอย่าง (ตัวอย่างใหม่)                           
                    7.2  ด้านใดขาด  H  ให้เติม  H+  ตามจำนวนที่ขาด   แล้วเติม  OH- ทั้ง  2  ข้าง  เท่ากับจำนวนของ  H+  ที่เติม   H+ และ  OH- จะรวมตัวกันเป็น H2O  ถ้าอีกด้านหนึ่งมี H2O   
                          อยู่ด้วย  ให้หักล้างกันได้ (แนะนำให้ทำข้อ 7.1 ก่อนจะดีกว่า)
                                                                          

  • ทางซ้ายมี  O = 9  ทางขวามี  O  =  8  ต้องเติม  H2O  ทางขวา                                                                                                

*         ทางซ้ายมี  H = 6   ทางขวามี  H  =  2  ต้องเติม  H+    ทางขวาอีก  4H+  แล้วเติม  4OH-  ทั้ง  2  ด้าน                                                      

                                                                 
                                                                         
  *  4H+ + 4OH-  ทางขวารวมตัวกันเป็น  4H2O  รวมกับ  H2O  ที่มีอยู่เดิมเป็น 5H2O
                                                                       

                     สมการที่ดุลแล้วเป็นดังนี้ ;                     2Cr(OH)3  +  ClO3-  +  4OH-  →  2CrO42-  +  Cl-  +  5H2O



                       (คลิ้กเพื่อชมและฝึกดุลสมการรีดอกซ์)        

การดุลสมการรีดอกซ์โดยครึ่งปฏิกิริยา (Balancing redox equation using half reaction)

             หลักการทั่วไปคือ  พิจารณาให้ได้ว่าส่วนใดของปฏิกิริยาเป็นส่วนออกซิเดชันและเป็นส่วนรีดัดชัน  แล้วแยกแต่ละส่วนออกมาเขียนเป็นสมการย่อยเพื่อให้เห็นจำนวนอิเล็กตรอนที่ถ่ายเทกันว่าเท่ากันหรือไม่  ถ้าไม่เท่าให้ใช้ตัวเลขที่เหมาะสมคูณแต่ละสมการเพื่อทำให้เท่ากัน  ขั้นนี้เป็นการดุลสมการส่วนที่เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์  จากนั้นรวมสมการย่อยเข้าด้วยกันแล้วดุลสมการส่วนที่เกิดปฏิกิริยาธรรมดา  โดยใช้หลักการต่าง ๆ เช่นเดียวกับการดุลโดยเลขออกซิเดชัน  ดูตัวอย่าง

ตัวอย่าง  จงดุลสมการรีดอกซ์ต่อไปนี้  Cu + HNO3  →  Cu(NO3)) + NO + H2O

 

            ออกซิเดชัน  ;  Cu  →  Cu2+  +  2e-

            รีดักชัน        ;  N5+  +  3e-  →   N2+
                             
จำนวนอิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาออกซิเดชันกับรีดักชันยังไม่เท่ากัน  ต้องทำให้เท่ากันโดยคูณสมการด้วยตัวเลขที่เหมาะสม

            ออกซิเดชัน  ;  3(Cu  →   Cu2+  +  2e-)

                                  3Cu  →   3Cu2+  +  6e-

            รีดักชัน        ;  2(N5+  +  3e-  →   N2+)

                                  2N5+  +  6e-  →   2N2+

                       ต่อจากนี้รวมเป็นสมการเดียวกัน  แล้วดุลสมการต่อไปจนจบด้วยหลักการเดียวกับการดุลด้วยเลขออกซิเดชัน

                       3Cu  +  2N5+  +  6e  →   3Cu2+  +  6e-  +  2N2+

                       3Cu  +  2HNO3  +  6e-  →   3Cu(NO3)2  +  6e-  +  2NO  +  H2O

                       3Cu  +  2HNO3  →   3Cu(NO3)2  +  2NO  +  H2O

 

แบบฝึกหัด  จงดุลสมการรีดอกซ์ต่อไปนี้  โดยวิธีใช้เลขออกซิเดชันและโดยวิธีใช้ครึ่งปฏิกิริยา (บางปฏิกิริยาอาจเกิดในสารละลายกรดหรือเบสแต่ไม่ได้บอกไว้)

1.  Fe + V2O3 → Fe2O3 + VO

2.  H2C2O4 + KMnO4 → CO2 + K2O + Mn2O3 + H2O

3.  Mn(NO3) 2 + NaBiO3 + HNO3 →HMnO4 + Bi(NO3) 3 + NaNO3 + H2O

4.  H2C2O4 + K2MnO4 → CO2 + K2O + Mn2O3 + H2O

5.  KClO3 + C12H22O11 →KCl + H2O + CO2

6.  K2Cr2O7 + H2O + S → SO2 + KOH + Cr2O3

7.  KMnO4 + NaCl + H2SO4 → Cl2 + K2SO4 + MnSO4 + H2O + Na2SO4

8.  K2Cr2O7 + SnCl2 + HCl → CrCl3 + SnCl4 + KCl + H2O

9.  KMnO4 + KNO2 + H2SO4 → MnSO4 + H2O + KNO3 + K2SO4

10. Cu +  HNO3 → Cu2+ +  NO+  NO3- + H2O
11.  Al(s)  +  MnO2→  Al2O3+  Mn

12.  SO2+  HNO2→  H2SO4+  NO

13.  HNO3+  H2S→  NO+ S+  H2O
14.   Al+  H2SO4→ Al2(SO4)3+  H2

15.   HNO3+ H3AsO3→  NO(+ H3AsO4(+ H2O

16.   Cu+ HNO3→  Cu(NO3)2+ NO+ H2O

17.   NO2+ H2→   NH3+ H2O

18.   Cr2O72+ HNO2→  Cr3++ NO3 (acidic)

(Cr2O72 3HNO2+5H+    →  2Cr3+    +  3NO3     +  4H2O)

19.   Cr(OH)3 + ClO3 →  CrO42 + Cl   (basic)

(2Cr(OH)3  +  ClO3  +  4OH →  2CrO42  +  Cl +  5H2O)

20.   Fe2+ + MnO4- →  Fe3+ + Mn2+ (acidic solution)

(5Fe2+ + MnO4- + 8H+ → 5Fe3+ + Mn2+ + 4H2O)
21.   Pb + PbO2  + SO42- → PbSO4 (acidic solution)


Content's Picture

Size : 39.47 KBs
Upload : 2012-10-29 21:18:54
Comment(s)

Current Page(s) 1/0
<<
1
>>

Vote this Content ?

0
Vote(s)
Create by :


K-Me
Detail Share
Status : ผู้ใช้ทั่วไป
วิทยาศาสตร์


โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.646207 sec.