krusunsanee


วรรณกรรมพื้นบ้าน(ท้องถิ่น)
                  วรรณกรรมพื้นบ้าน ศันสนีย์ อรุณสินประเสริฐ อ่านและสรุปจากแหล่งข้อมูลในเว็ปไซต์

 วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น
            วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ 
            วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน
            วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เป็นต้น
      ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์ วรรณกรรมที่สื่อเรื่องราวด้านต่างๆ ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จารีตประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน

   ลักษณะของวรรณกรรมพื้นบ้าน
          1. เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาจากมุขปาฐะ คือ เป็นการเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปากและแพร่หลายกันอยู่ในกลุ่มชนท้องถิ่น
         2. เป็นแหล่งข้อมูลที่บันทึกข้อมูลด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนท้องถิ่น อันเป็นแบบฉบับให้คนยุคต่อมาเชื่อถือและปฏิบัติตาม
         3. มักไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องที่บอกเล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก
         4. ใช้ภาษาท้องถิ่น ลักษณะถ้อยคำเป็นคำง่ายๆ สื่อความหมายตรงไปตรงมา
         5. สนองความต้องการของกลุ่มชนในท้องถิ่น เช่น เพื่อความบันเทิง เพื่ออธิบายสิ่งที่คนในสมัยนั้นยังไม่เข้าใจ เพื่อสอนจริยธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและพฤติกรรมด้านต่างๆ

ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ
          1.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา)
          2.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
          3.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
          4.วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง

วรรณกรรมทั้ง 4 ภาค มีลักษณะ ดังนี้
           1. ใช้ภาษาถิ่นและตัวอักษรท้องถิ่น แต่เดิมวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา ในท้องถิ่นวรรณกรรมท้องถิ่นในยุคที่ใช้ระบบการคัดลอกด้วยมือใช้ตัวอักษรของถิ่นในการ บันทึก ตัวอักษรที่ใช้บันทึกในแต่ละภาคมีความต่างกัน และมีประวัติเก่าแก่เช่นเดียวกับอักษร ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน
           2 ใช้รูปแบบคำประพันธ์ท้องถิ่น วรรณกรรมทั้ง 4 ภาค ส่วนใหญ่เป็น ร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว คำประพันธ์ที่ใช้เรียงร้อยถ้อยคำเข้าด้วยกัน มีลีลาคล้องกับสำเนียง ภาษาท้องถิ่นและเอื้อต่อการออกเสียงเป็นทำนอง รูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้แต่งวรรณกรรม จึงแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละภาค 
           3 ใช้รูปแบบการประพันธ์คล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ นิทานชาดกและวรรณกรรมคำสอน วรรณกรรมส่วนใหญ่มุ่งสอนจริยธรรมแก่สังคม โดยยึด หลักธรรมทางพุทธศาสนาควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง
           4.วรรณกรรมนิทานนิยายแบบนิยายชีวิตเป็นวรรณกรรมที่ชาวท้องถิ่นนิยมมาก นอกจากอ่านหรือเล่าสู่กันฟังแล้ว ยังนำไปแสดงในรูปแบบของละครพื้นบ้าน วรรณกรรม ชนิดนี้ จำลองชีวิตครอบครัวที่อาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ มีหลายรส มีทั้งรัก โศก ตัดพ้อต่อว่า และสอนคติธรรม
           5 รายละเอียดในวรรณกรรมสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น ฉากภูมิประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี ค่านิยมต่าง ๆ จะสะท้อนวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นนั้น ๆ

 จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภทคือ
          1.วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ บทกล่อมเด็ก นิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคาทาย ภาษิต สานวน โวหาร คากล่าวในพิธีกรรมต่าง ๆ และตัวบทที่ท่องจำในการแสดงเพลงพื้นบ้าน
         2.วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ นิทาน คำกลอน บันทึกทางประวัติศาสตร์ ในท้องถิ่นและตำราความรู้ต่าง

คุณค่า วรรณกรรมพื้นบ้าน สรุปได้ดังนี้
        1. ด้านจริยศาสตร์ มีคุณค่าต่อจิตใจ มีคติเตือนใจและสอนให้เป็นคนดี 
        2. ด้านสุนทรียศาสตร์ มีคุณค่าต่อความไพเราะ ความงามของภาษา ถ้อยคำ ลีลา ท่วงทำนองของบทเพลง และบทกวี
       3. ด้านศาสนา เป็นสื่อถ่ายทอดคำสอนและปรัชญาทางศาสนา เผยแพร่สู่ประชาชน ได้กว้างขวาง ทำให้ประชาชนมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจและได้ข้อคิดในการดำรงชีวิต
       4 ด้านการศึกษา ให้ประชาชนได้ฟังหรืออ่าน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
       5. ด้านภาษา เป็นสื่อให้ภาษาท้องถิ่นดำรงอยู่ ซึ่งควรแก่การอนุรักษ์และสืบทอด
       6. ด้านสังคม ปลูกฝังการช่วยเหลือกัน การผูกมิตร การมีมนุษยสัมพันธ์ และพึ่งพาอาศัยกัน
       7 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้ความรู้เกี่ยวกับตานาน ชื่อสถานที่ ในประวัติศาสตร์ โบราณสถานและโบราณวัตถุ ให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา และรายละเอียด
       8 ด้านประโยชน์ใช้สอย โดยการนำวรรณกรรมท้องถิ่นไปใช้ เช่น นำบทกล่อมเด็ก ไปใช้กล่อมเด็ก นำเพลงพื้นบ้านไปใช้ประกอบการแสดง หรือการนำตำรารักษาโรค ไปใช้ ประกอบอาชีพ

   สรุป วรรณกรรมพื้นบ้านเป็นวรรณกรรมที่ถ่ายทอดในกลุ่มชนใดกลุ่มชนหนึ่งมาเป็นเวลานาน มีทั้งที่เขียนเป็นลายลักษณ์ เช่น นิทาน ตาราและบันทึก และมีทั้งที่ไม่ได้เขียนเป็น ลายลักษณ์ หรือมุขปาฐะ ใช้การพูด การบอก การเล่า หรือการร้องสืบทอดกันมา เช่น เพลงพื้นบ้าน และบทกล่อมเด็ก เป็นต้น วรรณกรรมพื้นบ้านมีคุณค่าต่อชีวิตความเป็นอยู่ ได้ความรู้ ได้ข้อคิดในการดำรงชีวิต ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจตลอดจนสามารถนาความรู้จากการได้ศึกษาไปประยุกต์ใช้ประกอบ อาชีพได้

แหล่งข้อมูล http://th.wikipedia.org/w/index.php?title http://www.google.co.th/

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
70 หมู่ 2 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0 2441 3593 E-Mail:satriwit3@gmail.com


Generated 0.014530 sec.